ปากีสถาน รณรงค์ลดกินชา กระทบส่งออกใบชาไทย แค่ไหน

จากกรณีที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่านายอาห์ซาน อิกบาล รัฐมนตรีอาวุโสของปากีสถาน ออกมารณรงค์ให้ชาวปากีสถาน จิบชาต่อวันในปริมาณที่น้อยลง เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าที่สูงของปากีสถานได้ เนื่องจากปากีสถานคือผู้นำเข้าชารายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อปีที่แล้วนำเข้าชามูลค่ารวมมากกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การรณรงค์ของปากีสถานครั้งนี้จะกระทบต่อการส่งออกธุรกิจชาไทย และเกษตรกรผู้ปลูกอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุแหล่งปลูกชาที่สำคัญของไทยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และน่าน โดยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งปี ช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. เป็นช่วงที่ผลผลิตออกมากที่สุด โดยมีพื้นที่ปลูกชาในปี 2563 จำนวน 149,656 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

พันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์ชาอัสสัม ร้อยละ 87 และพันธุ์ชาจีน คิดเป็นร้อยละ 13 โดยข้อมูลช่วงปี 2558-2562 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกชา อันดับที่ 22 ของโลก ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ กัมพูชา (ร้อยละ 31) เมียนมา (ร้อยละ 20) และสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 18) ส่วนสินค้าชาไทยที่ส่งออกมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  • สินค้าชาเขียวเฉลี่ย 979,676 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 6.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • สินค้าชาดำเฉลี่ย 1.4 ล้าน กก.ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • สินค้าชาผงสำเร็จรูปเฉลี่ย 9.16 ล้าน กก.ต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 22.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีโดยชา

ที่สำคัญ เมื่อปีที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ยังได้ทำการวิเคราะห์โดยพบว่า ชาไทยเป็นสินค้าดาวรุ่งที่กำลังส่งออกได้ดี โดยเมื่อ 7 เดือนของปีที่แล้ว ขยายตัวถึง 119% โดยเฉพาะชาเขียวและชาดำบรรจุหีบห่อ เพราะเป็นที่นิยมและยอมรับในหมู่ผู้บริโภค โดยมีตลาดสำคัญ เช่น ไต้หวัน จีน และอาเซียน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ที่สำคัญในการส่งออกไปจีนและอาเซียน ยังสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ปัจจุบันมีการลดภาษีนำเข้าให้กับชาไทยได้ ทำให้สินค้าไทยมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

ดังนั้นจากแนวโน้มดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ชาไทยยังมีโอกาสในการส่งออกได้ดี เนื่องจากปากีสถานไม่ใช่ตลาดหลักในการส่งออกชาของไทย แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะต้องเข้ามาช่วยเหลือในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยผลักดันให้มีมาตรฐานรับรอง ทั้งมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานต่างประเทศ เช่น การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (GAP) มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ (GMP) สิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) รวมถึงการรับรองสินค้าอินทรีย์ เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ

ตลอดจนต้องช่วยขยายช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะช่องทางตลาดออนไลน์ที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมในปัจจุบัน รวมถึงควรประชาสัมพันธ์ชาไทย กระตุ้นการบริโภค เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการขายชาไทยให้เติบโตได้ในอนาคต

By admin

Related Post